Skip to content
การฝังเข็ม เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กพิเศษ ปักไปตามตำแหน่ง หรือจุดตามเส้นลมปราณ เพื่อปรับสมดุลให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้ปกติ
โดยการฝังเข็มเป็นวิธีการที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากการทานยา
การฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้อย่างไร?
- ปรับการไหลเวียนของเลือดและลมปราณที่ติดขัด
- ปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย
- ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เสริมสร้างเจิ้งชี่ ป้องกันโรค
ฝังเข็ม รักษาโรคอะไรได้บ้าง ?
- กลุ่มอาการปวดและโรคระบบกล้ามเนื้อ เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง ปวดต้นคอ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
- กลุ่มโรคระบบประสาท เช่น ชาปลายมือ ปลายเท้า อัมพฤกษ์อัมพาต โรคอัมพาตใบหน้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง และหอบหืด
- กลุ่มโรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ความดันต่ำ
- กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น กรดไหลย้อน ท้องผูก อาหารไม่ย่อย
- กลุ่มโรคทางนารีเวช เช่น ปรับสมดุล ประจำเดือนมาไม่ปกติ เข้าสู่วัยทองทั้งบุรุษและสตรีและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- กลุ่มโรคอื่นๆ เช่น การฝังเข็มเพื่อเสริมสุขภาพ เครียด กังวง นอนไม่หลับ ซึมเศร้า
การเตรียมตัวในการฝังเข็ม
ก่อนการฝังเข็ม
- พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- ควรรับประทานอาหารมาก่อน 1-2ชั่วโมง ไม่อิ่ม และไม่หิวจนเกินไป
- ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ใส่สบาย หลวม เพื่อความสะดวกในการทำการรักษา
- ทำจิตใจให้สงบก่อนเริ่มทำการรักษา
ระหว่างฝังเข็ม
- ไม่วิตกกังวลหรือหวาดกลัวจนเกินไป
- ควรผ่อนคลายร่างกายไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งตึง
- ระหวังที่มีการฝังเข็ม ควรอยู่ในท่าเดิม ไม่ควรขยับตัวมาก เพราะอาจทำให้เข็มงอ เข็มติดดึงออกยาก
- หากมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เหงื่ออกลอกมากผิดปกติ มือเท้าเย็น ให้รีบแจ้งทันที
หลังการฝังเข็ม
- หากรู้สึกปวดขัดบริเวณที่มีการฝังเข็ม สามารถบแกแพทย์ผู้ทำการรักษาให้ทำการแก้ไขได้
- ผู้ป่วยที่นอคว่ำหน้าเป็นเวลานาน เมื่อถอนเข็มออก ควรนอนหงาย5-10นาที ก่อนลุกจากเตียง
- หลังจากฝังเข็มเสร็จ สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ หากรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัวคล้ายจะเป็นไข้ สามารถทานยาแก้ปวดลดไข้ได้ และอาการดังกล่าวสามารถหายได้เองหลักจากนอนหลับพักผ่อน
ติดต่อสอบถามหรือจองคิว